ประเด็นหลัก ๆ ของบล็อกนี้ก็เรื่องของการสำรองฐานข้อมูลนั่นแหล่ะ ต่างกันนิดหน่อยกับคำว่าตัวสำรอง เราสำรองเพราะเห็นว่าสิ่งนั้นสำคัญแต่ตัวสำรองคือยังไม่สำคัญนะให้รอ ก็ได้แค่นั้นแค่ตัวสำรอง

เดี๋ยวลองไล่ลำดับ ขั้นตอนในกระบวนการนี้ด้วยกัน

  1. เริ่มสำรองข้อมูล ในที่นี้คือฐานข้อมูลของ MySQL ด้วย Tool มาตรฐานคือ mysqldump (ส่วนเรื่องพารามิเตอร์ในคำสั่ง อะไรยังไง จะเอาอะไร ไม่เอาอะไร อ่านต่อได้ที่นี่)
  2. บีบอัดไฟล์ให้ขนาดเล็กลง
  3. เก็บไฟล์ไว้ที่เครื่องโลคอลนิดหน่อยอีก 30 วันค่อยมาลบหล่ะกัน (ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับความต้องการด้วยนะว่าเหมาะสมแค่ไหน)
  4. ทำการอัพโหลดข้อมูลที่สำรองได้ขึ้น Google Drive ผ่าน Google Drive CLI Client ตัวนึงที่ชื่อว่า gdrive (จุดประสงค์หลักคือเพื่อให้มีแหล่งเก็บอื่นเพิ่ม) ก่อนการใช้งานจำเป็นต้องอนุญาตให้ gdrive สามารถเข้าถึง Google Drive ของเราได้ก่อน
    1. อนุญาตสิจ๊ะ
    2. คัดลอก Token ที่ได้ เพื่อมาใช้ในโปรแกรม
  5. ทั้งหมดทั้งมวลให้ทำงานอัตโนมัติ โดยการใช้ crontab (สงสัยวิธีใช้งานก็ตามอ่านกันที่นี่นะ #เหมือนจะขี้เกียจ #55555)

โดยขั้นตอนข้างต้นเราเขียนเชลล์สคริปท์สั้น ๆ สำหรับทำงานแบบรูทีนตามนี้

ผลลัพธ์ที่ได้ก็ตามนี้

ป.ล. 1
การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญพอ ๆ กับการทดสอบไฟล์ที่สำรองได้นั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่

ป.ล 2
gdrive – gdrive is a command line utility for interacting with Google Drive.
pv – monitor the progress of data through a pipe.

 

Published by Man Friday

Application Developer, Photographer and WordPress aficionado. Particularly interested in relational database design, In usability, UX and accessibility on software development. I just wear glasses, Lives in Ubonratchathani, Thailand.